อนิเมะ master

อนิเมะ master อนิเมะ (ญี่ปุ่น: アニメ; โรมาจิ: Anime; ราชบัณฑิตยสภา: อานิเมะ) หมายถึง สื่อเนื้อหาภาพเคลื่อนไหวที่วาดด้วยมือหรือใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกจากประเทศญี่ปุ่น คำว่า อนิเมะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่น ที่ดัดแปลงมาจากคำภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชัน (animation) ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ได้กลายความหมายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่น ที่ใช้สื่อถึงสื่อภาพยนตร์การ์ตูน (Animated media) ทุกรูปแบบ[1] ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น หรือภาพยนตร์การ์ตูนที่มีลักษณะของเอกลักษณ์ทางศิลปะเหมือนกับภาพยนตร์การ์ตูนที่ผลิตในญี่ปุ่น[2] อนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอนิเมะอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่แล้ว อนิเมะเป็นสื่อที่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีเนื้อเรื่องที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ ทั้งที่เป็นนวนิยาย หรือจากสื่อหนังสือการ์ตูนมังงะ ซึ่งทำให้อนิเมะมีเนื้อเรื่องที่หลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกประเภท รวมไปถึงประเภทสื่อลามก อนิเมะมักถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์เป็นรายสัปดาห์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ซึ่งเป็นการทำตอนเฉพาะที่ไม่ได้ออกอากาศ เรียกว่า โอวีเอ (Original Video Animation) และปัจจุบันก็มีเนื้อหาที่เผยแพร่โดยตรงผ่านอินเทอร์เน็ต เรียกว่า ONA (Original Net Animation) ด้วย นอกจากนี้ยังมีอนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้วย ปัจจุบันมีจำนวนอนิเมะที่ถูกสร้างในประเทศญี่ปุ่นราว 500 เรื่องต่อปี

ประวัติ อนิเมะ master

อนิเมะ master ประเทศญี่ปุ่นเริ่มผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1917 แต่ภาพลักษณ์ในฐานะสื่อสำหรับเด็กของภาพยนตร์การ์ตูนทำให้การเผยแพร่ยังมีอยู่อย่างจำกัด และแผ่นดินไหวใหญ่ในที่ราบคันโตเมื่อ ปี 1923 ทำให้สตูดิโอและงานในยุคแรกเริ่มถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก. การ์ตูนอนิเมะเรื่องยาวเรื่องแรก คือ โมโมทาโร่ อุมิโนะชินเปอิ (桃太郎 海の神兵) หรือ โมโมทาโร่ ทหารเทพแห่งท้องทะเล ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยราชนาวีของจักรวรรดิ์ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1944 เพื่อใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อในระหว่างสงคราม. พอถึงยุคหลังสงครามความนิยมในภาพยนตร์แอนิเมชันก็ได้รับการฟื้นฟูเป็นลำดับ. จนกระทั่งในทศวรรศที่ 1960 นักสร้างแอนิเมชันอย่าง เทะซิกะ โอซามุ ได้บุกเบิกเทคนิคในการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนในญี่ปุ่น โดยการศึกษาเลียนแบบเทคนิคของนักทำแอนิเมชันของดิสนีย์และคิดหาทางลดความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายลง. ผลงานของโอซามุได้รับความนิยมแพร่หลายไปนอกประเทศญี่ปุ่น และได้รับฉายทั้งในอเมริกาและประเทศในยุโรปหลายเรื่อง. พอถึงปลายปี 1970 ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นได้พัฒนาลักษณะเฉพาะตัวขึ้นจนสามารถแบ่งแยกออกจากภาพยนตร์การ์ตูนของสหรัฐอเมริกาได้อย่างชัดเจน. ในทศวรรษที่ 1980 อนิเมะได้รับความนิยมกว้างขวางในญี่ปุ่น ทำให้ธุรกิจการสร้างอนิเมะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และในทศวรรษที่ 1990 และ 2000 ชื่อเสียงของอนิเมะได้แพร่ขยายไปยังนอกประเทศญี่ปุ่น พร้อม ๆ กับการขยายตัวของตลาดอนิเมะนอกประเทศสำหรับคนที่ชื่นชอบ.

คำศัพท์

“อนิเมะ” (アニメ) เป็นคำย่อของ アニメーション ซึ่งเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษ (สังเกตได้ว่าเขียนเป็นคาตากานะ) “แอนิเมชัน” (animation) ซึ่งหมายความถึงภาพยนตร์การ์ตูน คำทั้งสองคำนี้สามารถใช้แทนกันได้ในภาษาญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีรูปย่อเป็นที่นิยมใช้มากกว่า คำว่า “อนิเมะ” มีขอบเขตกว้างครอบคลุมภาพยนตร์การ์ตูนทั้งหมด ไม่จำกัดอยู่ที่แนวหรือรูปแบบของภาพยนตร์การ์ตูนใด ๆ

“เจแปนิเมชั่น” (Japanimation) ซึ่งเกิดจากการผสมคำว่า “เจแปน” (Japan) กับ “แอนิเมชั่น” เป็นคำอีกคำที่มีความหมายเหมือน “อนิเมะ” คำนี้นิยมใช้กันมากในทศวรรษที่ 1970 และ 1980 แต่มีคนใช้น้อยลงตั้งแต่ปี 1990 และหมดความนิยมลงก่อนกลางทศวรรษที่ 1990 ในปัจจุบันคำนี้ถูกใช้อยู่แค่ในประเทศญี่ปุ่นเพื่อแบ่งแยกระหว่างภาพยนตร์การ์ตูนทั่ว ๆ ไป (ซึ่งคนญี่ปุ่นเรียกรวม ๆ ว่า “อนิเมะ”) และภาพยนตร์การ์ตูนที่ผลิตภายในประเทศ

แนว

บทความหลัก: แนวการ์ตูน

อนิเมะมีอยู่หลายแนวเช่นเดียวกับภาพยนตร์ ยกตัวอย่างเช่น แอ็กชั่น, ผจญภัย, ตลก, โศกนาฏกรรม, แฟนตาซี, สยองขวัญ, ฮาเร็ม, โรแมนติก,ทำอาหาร, นิยายวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

อนิเมะส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาจากแนวอนิเมะมากกว่าหนึ่งแนว และอาจมีสารัตถะมากกว่าหนึ่งสารัตถะ ทำให้การจัดแบ่งอนิเมะเป็นไปได้ยาก เป็นเรื่องปกติที่อนิเมะแนวแอ็กชันส่วนใหญ่จะสอดแทรกด้วยเนื้อหาแนวตลก และอาจมีการวิพากษ์วิจารณ์สังคมปนอยู่ด้วย ในทำนองเดียวกันอนิเมะแนวรักโรแมนติกหลายเรื่องก็มีฉากต่อสู้ที่ดุเดือดไม่แพ้อนิเมะแนวแอ็กชั่นเลย

แนวที่สามารถพบได้แค่ในอนิเมะและมังงะได้แก่ (สำหรับแนวอื่น ๆ ดูรายชื่อแนวภาพยนตร์)

  • บิโชโจะ: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “เด็กสาวหน้าตาดี”) อนิเมะที่มีตัวละครหลักเป็นเด็กสาวหน้าตาสวยงาม เช่น เมจิกไนท์ เรย์เอิร์ธ
  • บิโชเน็ง: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “เด็กหนุ่มหน้าตาดี”) อนิเมะที่มีตัวละครหลักเป็นเด็กหนุ่มหน้าตาหล่อเหลาและท่าทางสง่างาม เช่น ฟูชิกิยูกิ
  • เอดชิ: มีรากมาจากตัวอักษร “H” ในภาษาญี่ปุ่นหมายว่า “ทะลึ่ง” อนิเมะในแนวนี้จะมีมุขตลกทะลึ่งแบบผู้ใหญ่ และมีภาพวาบหวามแต่ไม่เข้าข่ายอนาจารเป็นจุดขาย ตัวอย่างเช่น คาโนค่อน จิ้งจอกสาวสุดจี๊ด
  • เฮ็นไต: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “ไม่ปกติ ในแง่จิตใจ” หรือ “วิตถาร”) เป็นคำที่ใช้นอกประเทศญี่ปุ่นสำหรับเรียกอนิเมะที่จัดได้ว่าเป็นสื่อลามกอนาจาร ในประเทศญี่ปุ่นเรียกอนิเมะประเภทนี้ว่า 18禁アニメ  (อ่านว่า “จูฮาจิคินอนิเมะ”; อนิเมะสำหรับผู้ใหญ่อายุมากกว่า 18 ปี) หรือ エロアニメ  (อ่านว่า “เอโระอนิเมะ”; มาจาก “erotic anime” แปลว่า “อนิเมะที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ) ตัวอย่างเช่น ลาบลูเกิร์ล)
    อนิเมะสำหรับเด็ก: มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กปฐมวัย ตัวอย่างเช่น โดราเอมอน
  • โชเน็ง: อนิเมะที่มีกลุ้มเป้าหมายเป็นเด็กผู้ชาย เช่น ดราก้อนบอล, นารูโตะนินจาจอมคาถา,เซนต์เซย์ย่า
  • โชโจะ: อนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กผู้หญิง เช่น เซเลอร์มูน,ซินามอโรล,ฝากใจไปถึงเธอ
  • เซเน็ง: อนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นชายตอนปลายถึงผู้ชายอายุประมาณ 20 ปี เช่น โอ้! มายก็อดเดส,โอ้เทพธิดา
  • โจเซ: (ภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “ผู้หญิงอายุน้อย”) อนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงอายุประมาณ 20 ปี ตัวอย่างเช่น นานะ
  • มาโฮโชโจะ: แนวย่อยหนึ่งของอนิเมะแนวโชโจะ มีตัวละครหลักเป็นเด็กผู้หญิงที่มีพลังวิเศษอย่างไดอย่างหนึ่ง เช่น การ์ดแคปเตอร์ซากุระ
  • มาโฮโชเน็ง: เหมือนแนวสาวน้อยเวทมนตร์ แต่ตัวเอกเป็นผู้ชาย เช่น ดี.เอ็น.แองเจิล
  • โชโจะไอ/ยูริ: อนิเมะเน้นความรักร่วมเพศระหว่างผู้หญิง เช่น สตรอเบอรี่พานิก
  • โชเน็งไอ/ยาโออิ: อนิเมะเน้นความรักร่วมเพศระหว่างผู้ชาย เช่น เลิฟเลส อนิเมะ master

บทความที่เกี่ยวข้อง